eMedical and Biometric

Last updated: 10 ส.ค. 2565  |  599 จำนวนผู้เข้าชม  | 

eMedical and Biometric

eMedical and Biometric

     การตรวจสุขภาพหรือ eMedical เป็นการจัดเก็บข้อมูลประวัติการรักษาผู้ป่วยของสถานพยาบาล หรือสถานบริการสาธารณสุขในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสถานพยาบาล เพื่อประโยชน์ต่อการให้บริการรักษาอย่างต่อเนื่อง การตรวจสุขภาพเพื่อขอวีซ่านักเรียนนั้น เป็นขั้นตอนที่สถานฑูตให้ผู้ขอวีซ่านักเรียนทุกคนต้องปฎิบัติเพราะถือว่าเป็นหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญมาก

โดยการตรวจสุขภาพนั้นมีการตรวจดังต่อไปนี้

          - เอ็กซ์เรย์ปอด เพี่อเช็คสภาพปอดและตรวจหาอาการของวัณโรค

          - ตรวจปัสสาวะ

          - ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ สิ่งที่ต้องนำไปสำหรับการตรวจสุขภาพ

          - สำเนาพาสปอร์ต - HAP ID and your e-Medical Referral Letter ปริ้นออกมาและนำไปโรงพยาบาลด้วย

          - ถ้าใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ให้ใส่ไปด้วยนะ

          - ถ้ามีรายงานจากหมอเกี่ยวกับสุขภาพของเราให้นำไปด้วย (ถ้ามี)

ข้อมูลสำคัญสำหรับสุภาพสตรี

     การตั้งครรภ์ : สำหรับสุภาพสตรีที่ตั้งภรรค์ อาจมีผลทำให้ไม่สามารถตรวจสุขภาพได้ในขณะตั้งครรภ์

     การมีประจำเดือน: สำหรับสุภาพสตรีที่ได้ทำการจองการตรวจสุขภาพช่วงที่มีประจำเดือน ท่านจะต้องทำการจองการตรวจสุขภาพใหม่ 5 วันหลังจากวันที่หมดประจำเดือนแล้ว

คำเตือน

          - ไม่ควรใส่เครื่องประดับ นาฬิกา สร้อยคอ แหวน ต่างหู ขณะเข้ารับการตรวจสุขภาพ

          - Payment: ค่าตรวจสุขภาพประมาณ 2,500-3,500 บาท (จ่ายที่โรงพยาบาล)

 

รายชื่อโรงพยาบาลที่สามารถไปตรวจสุขภาพได้

          - โรงพยาบาลกรุงเทพ

             ที่อยู่ : เลขที่ 2 ซ.ศูนย์วิจัย 7 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขต  ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

             โทร : (+66) 2310-3000 1719

             อีเมล :  info@bangkokhospital.com

          - โรงพยาบาล BNH

             ที่อยู่ : 9/1 ถนนคอนแวนต์ สีลม กรุงเทพฯ 10500

             โทร : (+662) 686-2700

             อีเมล : info@bnh.co.th

          - โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม

             ที่อยู่ : 8 ถ.บุญเรืองฤทธิ์ ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

             โทร : (+6653) 920 – 300

             อีเมล : chiangmairam@chiangram.com

          - โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

             ที่อยู่ : 2/1 ถ.หงษ์หยกอุทิศ อ.เมือง จ.ภูเก็ต, 83000, ประเทศไทย       

             โทร : (+6676) 254 425

             แฟกซ์ : (+6676) 254 430

          - โรงพยาบาลเอกอุดร

             ที่อยู่ : 555/5 ถนนโพศรี อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี

             โทร : (+6642) 342 555

             อีเมล : info@aekudon.com,customerservice@aekudon.com

 

สถานที่ตรวจสุขภาพสำหรับวีซ่านักเรียนในประเทศไทย http://www.immi.gov.au/contacts/panel-doctors/index.htm

การเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล หรือ Biometrics 

ไบโอเมตริก (Biometric) เป็น เทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งเป็นการผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยีทางด้านชีวภาพและทางการแพทย์ กับเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยการตรวจวัดคุณลักษณะทางกายภาพ (Physical Characteristics) และลักษณะทางพฤติกรรม (Behaviors) ที่เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละคนมาใช้ในการระบุตัวบุคคลนั้นๆ แล้วนำสิ่งเหล่านั้นมาเปรียบเทียบกับคุณลักษณะที่ได้มีการบันทึกไว้ในฐานข้อมูลก่อนหน้านี้ เพื่อใช้แยกแยะบุคคลนั้นจากบุคคลอื่นๆ ซึ่งคุณลักษณะทางกายภาพของคนเรานั้นส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ในขณะที่พฤติกรรมของมนุษย์อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ไม่ว่าจะเป็น เสียงพูด การลงลายมือชื่อ การใช้แป้นพิมพ์ ซึ่งจัดเป็นคุณลักษณะทางพฤติกรรมของบุคคล ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลาและการเรียนรู้ของบุคคลนั้นๆ จึงทำให้การพิสูจน์บุคคลโดยการใช้ลักษณะทางกายภาพนั้น มีความน่าเชื่อถือมากกว่า ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของการใช้ Biometric ประเภทนี้ก็คือ ใช้ง่าย เป็นที่ยอมรับของผู้ใช้ และมีอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่ำ เนื่องจากไม่ต้องนำอวัยวะที่ไวต่อการติดเชื้อ (เช่น ดวงตา)ไปสัมผัสกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านข้อมูล Biometrics แนวทางการเก็บรวบรวมข้อมูลการตรวจเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลจะถูกเก็บโดยกระบวนการที่ใช้เวลาอันรวดเร็ว ระมัดระวัง และไม่เป็นการล่วงล้ำส่วนบุคคล โดยจะเป็นการถ่ายภาพใบหน้าด้วยกล้องถ่ายรูประบบดิจิตอล และใช้ระบบสแกนลายนิ้วมือแบบเลขสิบหลักด้วยเครื่องสแกนนิ้วมือดิจิตอล

     ดังนั้นการขอวีซ่าออสเตรเลีย จะมีการเก็บข้อมูล Biometrics ของผู้สมัคร ซึ่ง Biometrics ก็คือการเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลเป็นการเก็บภาพลักษณะใบหน้า โดยจะถ่ายภาพหน้าตรง เห็นหู เห็นหน้าผาก และเก็บลายนิ้วมือทั้ง 10 นิ้ว โดย immigration คือหน่วยงานแรกที่จะต้องสกรีนคนที่จะเข้าประเทศ ทางหน่วยงานจะระวังพวกคนที่มีวัตถุประสงค์ร้าย ซึ่งก็คือพวกก่อการร้ายต่างๆ ซึ่งโดยมากจะมีการแชร์ภาพของคนพวกนี้กันระหว่างหน่วยงานของประเทศต่างๆ แล้วทางหน่วยงานก็จะใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ตรวจสอบ ซึ่งจะเป็นการง่ายที่จะเจอคนที่น่าสงสัยได้โดยง่ายๆ ดังนั้นประเทศก็จะปลอดภัยจากกลุ่มก่อการร้าย และด้วยเหตุผลนี้หลายๆคนอาจจะคิดว่าทำศัลยกรรมก็พอจะหลบได้แล้ว แต่จริงๆแล้วไม่สามารถหลบไปได้ เพราะความจริงมันไม่ได้เช็คจากใบหน้า แต่โปรแกรมเหล่านี้เป็นโปรแกรมคำนวนจากระยะของจุดต่างๆบนใบหน้า เช่น จากตาไปหู หรือหูไปจุดกึ่งกลางหว่างคิ้ว ซึ่งการทำศัลยกรรมก็ถือว่าเป็นการกระทำที่หลบได้ยาก เพราะเราไม่สามารถย้ายลูกตา คิ้ว หรืออวัยวะต่างๆที่มีอยู่บนใบหน้าไปที่อื่นบนใบหน้าได้

สิ่งที่ต้องนำไปสำหรับการเก็บหลักฐาน

         -  พาสปอร์ตตัวจริง
         -  IMMI s257A (s40) Requirement to Provide PIDs

         –  ปริ๊นท์ PDF ออกมาและนำไปด้วย สิ่งที่ต้องนำไปสำหรับการเก็บหลักฐานไบโอเมตริกซ์

         -  พาสปอร์ตตัวจริง

         -  IMMI s257A (s40) Requirement to Provide PIDs

         -  ปริ๊นท์ PDF ออกมาและนำไปด้วย

Payment Options

ค่า Biometrics จำนวน 895บาท(จ่ายที่ศูนย์รับยื่นวีซ่าออสเตรเลียกรุงเทพหรือเชียงใหม่) สามารถไปเก็บไบโอเมตริกซ์ได้ที่

         - กรุงเทพมหานคร 

            อาคารเดอะเทรนดี้ ออฟฟิศ ชั้น 28 สุขุมวิท ซอย 13 แขวงคลองเตยเหนือ เขต                    วัฒนา กรุงเทพฯ 10110

            สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทรศัพท์: +66(0) 2118 7100

            อีเมล:info.dibpth@vfshelpline.com

            เวลาทำการ 8.30 น. – 16.30 น. วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ยกเว้นวันหยุดสถานทูต

            เวลายื่นใบสมัคร: ตั้งแต่เวลา 08.30-15.00 น. วันจันทร์ ถึง วันศุกร์

            เวลารับผลการพิจารณา ตั้งแต่เวลา 10.00 – 16.30 น. วันจันทร์ ถึง วันศุกร์

          - เชียงใหม่

            191 อาคารศิริพานิช ชั้น 6B ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมื่อง จ.เชียงใหม่ 50200

            สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม : สามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทรศัพท์ : +66(0) 2118 7100

            ระหว่างเวลา 8.30-16.30 น. วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ยกเว้นวันหยุดสถานทูต


 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้